วันพุธที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2560

การทำงานพื้นฐานของ Dev-C++

 2.3 การทำงานพื้นฐานของ Dev-C++
2.3.1 การเปิดโปรแกรม | 2.3.2 ส่วนประกอบของโปรแกรม |
| 2.3.3 การใช้งานเมนูต่าง ๆ | 2.3.4 การพิมพ์โปรแกรมเข้าเครื่อง (การสร้าง Source File) | 
2.3.5 การคอมไพล์ (Compile) โปรแกรม
 | 2.3.6 การเรียกโปรแกรมทำงาน (Run) |
| 2.3.7 การคอมไพล์และเรียกโปรแกรมทำงาน (Compile & Run) |
 
 
2.3.1 การเปิดโปรแกรม Dev-C++
 
การเปิดโปรแกรม Dev-C++ มีขั้นตอน ดังนี้
ดับเบิ้ลคลิกไอคอน  ที่ Desktop 
หากไม่มี ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1) คลิกเมนู Start 
2) คลิก All Programs 
3) เลื่อนหาเมนู และ Bloodshed Dev-C++ จะแสดงเมนูย่อยขึ้นมา 
4) คลิกเมนู Dev-C++ ตามลำดับ ดังภาพด้านล่าง
 
 
 
2.3.2 ส่วนประกอบของโปรแกรม Dev-C++
 
โปรแกรม Dev-C++ ประกอบด้วย  7  ส่วนหลัก ๆ คือ
 
1) ส่วนของแถบไทเทิล (Title Bar) 
เป็นแถบที่อยู่บนสุดของโปรแกรม จะมีชื่อโปรแกรมภาษาซี แจ้งให้ผู้ใช้ทราบว่า กำลังทำกับแฟ้มใด เช่น Untitled1 - Dev-C++ 5.9.2
 
2) ส่วนของแถบเมนู (Menu Bar) 
ส่วนนี้เป็นส่วนของเมนูคำสั่งต่าง ๆ 10 รายการ คือ 
 FileEditSearchViewProjectExecuteToolsAStyleWindowHelp
 
3) ส่วนแถบเครื่องมือ (Tool Bars) เป็นส่วนของเครื่องมือ ที่รวมเอาเมนูคำสั่งที่ใช้บ่อย ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเรียกใช้แทนเมนูที่มีขั้นตอนเข้าใช้หลายขั้นตอน
 
4) ส่วนปุ่มรายการเลือก TDM-GCC ของโปรแกรม Dev-C++ ให้รองรับ 32-bit หรือ 
64-bit
 
5) ส่วนของการแสดง Project/Classes/Debug เป็นส่วนที่อยู่ทางด้านซ้ายของโปรแกรม ใช้เพื่อแสดง Project หรือ Class ต่าง ๆ ของโปรแกรม
 
6) ส่วนของพื้นที่การเขียนโปรแกรม (Editor) เป็นส่วนของพื้นที่ทำงานในการเขียนรหัสโปรแกรมภาษาซี
 
7) ส่วนแสดงสถานะของโปรแกรม (Status) อยู่ด้านล่างสุด ใช้เพื่อบอกสถานะต่าง ๆ
ในขณะที่กำลังเขียนโปรแกรม เช่น จำนวนบรรทัดทั้งหมด หรือสถานะการพิมพ์แทรก/พิมพ์ทับ
 
ภาพแสดงส่วนประกอบของโปรแกรม Dev-C++ 5.9.2
 
 
2.3.3 การใช้งานเมนูต่าง ๆ ของโปรแกรม Dev-C++
 
1) เมนู  File   ประกอบด้วยเมนูย่อย ๆ ที่ควรรู้จักดังนี้
 
 
New
Open
Save
Save As
Save All
Close
Close All
Exit
 
-->
-->
-->
-->
-->
-->
-->
-->
เพื่อสร้างไฟล์ใหม่
เพื่อเปิดไฟล์ที่บันทึกไว้
เพื่อบันทึกไฟล์ทับไฟล์เดิม
เพื่อบันทึกไฟล์เป็นชื่อใหม่ หรือเลือกบันทึกลงในโฟลเดอร์อื่น
เพื่อบันทึกไฟล์หรือโปรเจ็กซ์ทั้งหมด ที่เปิดทำงานอยู่
เพื่อปิดไฟล์ที่กำลังใช้อยู่
เพื่อปิดไฟล์หรือโปรเจ็กซ์ทั้งหมดที่เปิดอยู่
เพื่อปิดโปรแกรม Bloodshed Dev-C++
 
2) เมนู  Edit   ประกอบด้วยเมนูย่อย ๆ ที่ควรรู้จักดังนี้
 
 
Undo
Redu
Cut
Copy
Paste
Select All
Insert Snippet 

-->
-->
-->
-->
-->
-->
-->
ยกเลิกคำสั่ง 1 ครั้ง
ให้ทำซ้ำคำสั่ง 1 ครั้ง
ตัดข้อความที่เลือก ไปไว้ในคลิปบอร์ด
คัดลอกข้อความที่เลือก ไปไว้ในคลิปบอร์ด
วางข้อความจากคลิปบอร์ด ลงในตำแหน่งเคอร์เซอร์
เลือกโค้ด หรือข้อความทั้งหมด ที่อยู่ใน Editor
เป็นเครื่องมือช่วยจำรูปแบบคำสั่ง โดยสามารถเลือกแทรกรูปแบบคำสั่งต่าง ๆ ได้
 
3) เมนู  Search   ประกอบด้วยเมนูย่อย ๆ ที่ควรรู้จักดังนี้
 
 
Find
Replace
Search Again 

-->
-->
-->
ค้นหาคำ หรือข้อความใน Editor
ให้แทนที่คำที่ค้นหา ด้วยคำใหม่
ให้ค้นซ้ำ หรือค้นหาต่อไป
 
4) เมนู  View   ประกอบด้วยเมนูย่อย ๆ ที่ควรรู้จักดังนี้
 
 
Project/Class Browser
Statusbar
Toolbars 

-->
-->
-->
เพื่อแสดงหรือไม่แสดง Project/Class Browser
เพื่อแสดงหรือไม่แสดง Statusbar
เพื่อแสดงหรือไม่แสดง Toolbars ต่าง ๆ
 
5) เมนู  Project   ประกอบด้วยเมนูย่อย ๆ ที่ควรรู้จักดังนี้
 
 
New file
Add to Project
Remove from Project 

-->
-->
-->
เพื่อสร้างไฟล์ใหม่ในโปรเจค
เพื่อเพิ่มไฟล์เข้าโปรเจค
เพื่อย้ายไฟล์ออกจากโปรเจค
 
6) เมนู  Execute   ประกอบด้วยเมนูย่อย ๆ ที่ควรรู้จักดังนี้
 
 
Compile (F9) 
Run (F10) 
Compile & Run (F11)
Rebuild All (F12)
 
-->
-->
-->
-->
สั่งให้ Compile ซอร์สโค้ด ถ้าผ่านจะได้ไฟล์ .exe 
สั่งให้โปรแกรม .exe ทำงาน
สั่งให้ Compile ถ้าผ่านให้ Run ไฟล์ .exe ต่อเลย
สั่งให้สร้างไฟล์ .exe ใหม่ แทนที่ไฟล์เดิม
 
7) เมนู  tools   ประกอบด้วยเมนูย่อย ๆ ที่ควรรู้จักดังนี้
 
 
Editor Options
-->เป็นการตั้งค่าสภาพแวดล้อมให้กับ Editor เช่น กำหนดขนาด Tabs สี แบบอักษร เป็นต้น
 
8) เมนู  AStyle   ประกอบด้วยเมนูย่อย ๆ ที่ควรรู้จักดังนี้
 
 
9) เมนู  Window   ประกอบด้วยเมนูย่อย ๆ ที่ควรรู้จักดังนี้
 
 
Close All
Full Screen Mode

Next 
Previous 

-->
-->

-->
-->
ปิดหน้าต่างของ Editor ทั้งหมด
ให้แสดงแบบเต็มจอ ถ้าต้องการยกเลิกแบบ Full Screen ให้ click ที่ X เพื่อปิดหน้าต่าง
ให้แสดงหน้าต่างของ Editor ถัดไป
ให้แสดงหน้าต่างของ Editor ก่อนหน้า
 
10) เมนู  Help เป็นเมนูเกี่ยวกับการ ขอความช่วยเหลีอ ประกอบด้วยเมนูย่อย ๆ ที่ควรรู้จักดังนี้
 
 
Help on Dev-C++
Tip of the day
About Dev-C++ 

-->
-->
-->
ขอความช่วยเหลือในโปรแกรม Dev-C++
แนะนำเทคนิคการใช้งานโปรแกรม
รายละเอียดเกี่ยวกับโปรแกรม Dev-C++
 
 
2.3.4 การพิมพ์โปรแกรมเข้าเครื่อง (การสร้าง Source File)
 
1) การสร้างโปรแกรมใหม่ (New Source File)
 
ให้สร้าง Source File ซึ่งเป็นไฟล์ที่เก็บโค้ดโปรแกรมไว้ Compile ต่อไป 
วิธีสร้างให้คลิกที่เมนู File --> New --> Source File หรือ ใช้คีย์ลัดกดแป้น Ctrl+N ดังภาพ
 
 
เมื่อสร้างหน้าต่างสำหรับ New Source File แล้ว เริ่มทำการพิมพ์รหัสโปรแกรมลงบนพื้นที่เขียนโปรแกรม (Editor) ดังภาพด้านล่าง
 
 
2) การบันทึกโปรแกรมใหม่ (Save As...)
 
ทำการบันทึกไฟล์ใหม่ โดยไปคลิกที่เมนู File --> Save As... ดังภาพด้านล่าง
 
 
Save in : คลิกเลือกที่เก็บไฟล์ (Folder) 
File name : ป้อนชื่อไฟล์ เช่น p1 
Save as type : ให้คลิกเลือก C source file (*.c)
เมื่อป้อนครบ ให้คลิกปุ่ม Saveดังภาพด้านล่าง
 
 
 
3) การเปิดโปรแกรมเดิมมาแก้ไข (Open)
 
กรณีนี้จะทำได้ก็ต่อเมื่อได้สร้างและบันทึกไฟล์โปรแกรมไว้แล้ว 
สามารถทำได้โดยคลิกเมนู File -> Open หรือกดแป้นคีย์ลัด Ctrl+O ดังภาพด้านล่าง
 
 
Look in : คลิกเลือกที่เก็บไฟล์ (Folder)
Files of type : ให้คลิกเลือก C source file (*.c) หรือเลือกแสดงไฟล์ทั้งหมด All files (*.*) 
File name : 
คลิกเลือกไฟล์ หรือป้อนชื่อไฟล์ เช่น p1 
เมื่อป้อนครบ ให้คลิกปุ่ม Openดังภาพด้านล่าง
 
 
จะเปิดไฟล์ที่เลือกมาแสดง สามารถดำเนินการแก้ไข คอมไพล์ และรันได้ ดังภาพด้านล่าง
 
 
4) การบันทึกโปรแกรมเดิมที่แก้ไข (Save)
 
เมื่อแก้ไขเรียบร้อยแล้ว สามารถบันทึกไฟล์โปรแกรมได้ โดยคลิกที่เมนู File -> Save 
หรือกดแป้นคีย์ลัด Ctrl+S (ไฟล์จะถูกบันทึกทับที่เดิม หากไม่ต้องการบันทึกทับไฟล์เดิม 
ให้เลือกบันทึกแบบ Save As...แทน)ดังภาพด้านล่าง
 
 
 
2.3.5 การคอมไพล์ (Compile) โปรแกรม
 
การคอมไพล์ คือการตรวจสอบรหัสโปรแกรม (Source Code) ที่เขียนว่าถูกต้องตามโครงสร้างของภาษาหรือไม่ โดยวิธีคอมไพล์ทำได้โดย คลิกเมนู Execute --> Compile 
หรือกดแป้นคีย์ลัด F9ดังภาพด้านล่าง
 
 
หากผลการคอมไพล์ ไม่มีข้อผิดพลาด จะได้ไฟล์ .exe ที่มีชื่อเหมือนกับไฟล์รหัสโปรแกรม 
รายละเอียดดังภาพด้านล่าง
 
 
ตัวอย่าง ไฟล์รหัสโปรแกรม กับไฟล์ .exe หลังจากคอมไพล์ผ่าน จะได้ชื่อเหมือนกัน
ทั้งนี้สามารถเปลี่ยนชื่อภายหลังได้ดังภาพด้านล่าง
 
 
หากการคอมไพล์ไม่ผ่าน มีคำสั่งบางคำสั่งไม่ถูกต้องตามหลักโครงสร้างทางภาษา จะมีรายละเอียดแจ้งให้ทราบว่าผิดพลาดลักษณะใด เคอร์เซอร์จะหยุดบริเวณบรรทัดที่ผิดพลาด ให้ดำเนินการแก้ไขให้เรียบร้อย แล้วจึงคอมไพล์ใหม่อีกครั้งดังภาพด้านล่าง
 
 
 
ุ2.3.6 การเรียกโปรแกรมทำงาน (Run)
 
เมื่อคอมไพล์ผ่าน ถือว่าการตรวจสอบการเขียนโปรแกรมตามโครงสร้างภาษาถูกต้อง ต้องเรียกโปรแกรมทดสอบผลการทำงานเพื่อดูว่า โปรแกรมทำงานตามที่ออกแบบไว้หรือไม่ โดยใช้ข้อมูลทดสอบมาทดสอบโปรแกรม สามารถทำได้โดย คลิกเมนู Execute -> Run หรือกดแป้นคีย์ลัด F10 หากพบข้อผิดพลาดให้แก้ไขให้เรียบร้อยและต้องคอมไพล์ใหม่ ก่อนที่จะ Run โปรแกรมอีกครั้ง (มิเช่นนั้นจะเป็นไฟล์ .exe เดิม ทีถูก Run ขึ้นมา ไม่ใช่ไฟล์ที่แก้ไขใหม่ ให้ระวังตรงนี้ให้ดี)ดังภาพด้านล่าง
 
 
ตัวอย่างผลการรันโปรแกรม ดังภาพด้านล่าง
 
 
 
2.3.7 การคอมไพล์และเรียกโปรแกรมทำงาน (Compile & Run)
 
เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากกรณีลืมคอมไพล์ไฟล์โปรแกรมที่แก้ไขแล้ว ทำให้ Run .exe เดิม สามารถแก้ปัญหาตรงนี้ได้โดย ให้คลิกเมนู Execute -> Compile & Run หรือกดแป้นคีย์ลัด F11 หมายความว่า เมื่อคอมไพล์โปรแกรมผ่านแล้ว ให้รันโปรแกรมต่อเลย (ข้อเสีย คือ หากเคยคอมไพล์โปรแกรมผ่านแล้ว แล้วคอมไพล์อีก อาจทำให้ต้องเสียเวลาเพิ่มขึ้น) ดังภาพด้านล่าง
 
 
ตัวอย่าง การ Compile & Run เมื่อคอมไพล์ผ่าน จะเรียกโปรแกรม .exe มาทำงานต่อ
ดังภาพด้านล่าง